วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม


1. บทนำ

          การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การรับวัฒนธรรมที่แฝงเข้ามากับแหล่งข่าวสารข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรมของมนุษย์ โดยเฉพาะบนเครือข่ายสารสนเทศซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทุกมุมโลก การเปิดรับข่าวสารที่มาจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ และทัศนคติส่วนบุคคล การรับข้อมูลข่าว สารที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยเฉพาะ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ และมีแนวโน้มทำให้เกิดอาชญากรรม ปัญหาทางศีลธรรมและจริยธรรม



2. ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

          การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางกลายเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือยุคข้อมูลข่าวสาร ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติอย่าง มหาศาลนั้นหมายถึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามย่อมมีผลกระทบต่อบุคคล องค์กร หรือสังคม ทั้งนี้สามารถจำแนกผลกระทบทั้งทางบวกและผลกระทบทางลบของการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดังนี้

          2.1 ผลกระทบทางบวก

                    1) เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิต ชีวิตคนในสังคมได้รับความ
สะดวกสบาย
                    2) เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น โดยสามารถเอาชนะเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่ได้ ด้วยความเร็วในการติดต่อสื่อสารที่เป็นเครือข่ายความเร็วสูง

                    3) มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในฐานข้อมูลความรู้ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์

                    4) พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน
โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Learning : CAL)


          2.2 ผลกระทบทางลบ

                    1) ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรอยู่ก็มักจะชอบทำอย่างนั้นไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร บุคคลวิถีการดำเนินชีวิตและการทำางาน ผู้ที่รับต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงเกิดความวิตกกังกลขึ้นจนกลายเป็นความเครียด
                    2) ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก การแพร่ของวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่งสังคมอีกสังคมหนึ่งเป็นการสร้างค่านิยมใหม่ให้กับสังคมที่รับวัฒนธรรมนั้น ซึ่งอาจก่อให้เกิด ค่านิยมที่ไม่พึ่งประสงค์ขึ้นในสังคมนั้น
                    3) ก่อให้เกิดผลด้านศิลธรรม การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วในระบบเครือข่ายก่อให้เกิดโลกไร้พรมแดน แต่เมื่อพิจารณาศิลธรรมของแต่ละประเทศ พบว่ามีความแตกต่างกัน ประเทศต่างๆ ผู้คนอยู่ร่วมกันได้ด้วยจารีตประเพณี และศิลธรรมดีงามของประเทศนั้นๆ การแพร่ภาพหรือข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีไปยังประเทศต่างๆ มีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในประเทศนั้นๆ ที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน และมีค่านิยมแตกต่างกัน
                    4) การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัดย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การนำเอาข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวกับบุคคลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน


3. ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

          เราสามารถพิจารณาปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จากการวิเคราะห์ทัศนคติต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ในมุมมองที่แตกต่างกัน ได้ดังนี้

          3.1 มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
          3.2 มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีกระทบซึ่งกันและกัน
          3.3 มุมมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลไกในการดำรงชีวิตของมนุษย์


4. แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

          การป้องกันภัยและการแก้ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในสังคมอย่าจริงจัง ในที่นี้จะเสนอแนวทางบางประการที่น่าจะช่วยลดปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศลงได้บ้าง

          4.1 ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
          4.2 สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
          4.3 ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี
          4.4 การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน
          4.5 ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
          4.6 ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย

5.ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

          5.1 ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรื่องจริยธรรม
          ในปัจจุบันยังมีข้อถกเถียงกันเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ ค่านิยม จุดยืน และสิทธิที่บุคคลพึงมีพึงได้


          5.2 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและการเมือง
          จากมุมมองที่ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ


          5.3 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์
          นอกจากกรณีของเรื่องทัศนคติ อารมณ์ความรู้สึก ที่มีต่ออุปกรณ์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมและการเมืองดังที่กล่าวมาแล้ว ความเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์ ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะในกรณีของการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมในเรื่องของโลกเสมือนจริง (virtuality)


6. การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

          บรรดาองค์กรระหว่างประเทศต่างก็ได้เข้ามามีบทบาทในการจัดประชุมเจรจา เพื่อจัดทำโยบายและตัวบทกฎหมายด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องสำาคัญที่ประเทศไทยจะต้องจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ ในเรื่องนี้ได้ถูกดำเนินการโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นแกนกลางในการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน โดยมีกรอบสาระของกฎหมายในเรื่องต่างๆ ดังนี้

          ก. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
          ข. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Relate Crime)
          ค. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
          ง. กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI)
          จ. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law)
          ฉ. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer)
          ช. กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law)
          ซ. กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
          ฌ. กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเทอร์เน็ต
          ญ. กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น