วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม


1. บทนำ

          ปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้รับการพัฒนาให้
มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า “นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology)” ทำให้การ
สื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างฉับพลันผ่านทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้หลายพันล้านคนทั่วโลกและเพิ่มจำานวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้การเข้าถึงสารสนเทศและบริการต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและไร้พรมแดน โดยอาจเรียกได้ว่าเป็น “สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Society)” หรือ “ชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Community)”
(พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. 2553)




2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน

          ในภาวะปัจจุบันนั้นสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานปัจจัยที่ห้า เพิ่มจากปัจจัยสี่ประการที่มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดำารงชีวิตประจำาวัน ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำาเป็น ในการประกอบธุรกิจ ในการค้าขาย การผลิตสินค้า และบริการ หรือการให้บริการสังคม การจัดการทรัพยากรของชาติ การบริหารและปกครอง จนถึงเรื่องเบาๆ เรื่องไร้สาระบ้าง




          กล่าวกันอย่างสั้นๆ เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ เรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สารสนเทศ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้ การจัดหา วิเคราะห์ ประมวล และจัดการกับข่าวสารข้อมูลจำานวนมหาศาล จึงขาดเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เสียมิได้ ส่วนการแสวงหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร อย่างรวดเร็ว ทันเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย และมีประสิทธิภาพ ก็จำาเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีโทรคมนาคม และท้ายสุดสารสนเทศที่มี จะก่อให้เกิดประโยชน์จากการบริโภค อย่างกว้างขวางตามแต่จะต้องการและอย่างประหยัดที่สุด ก็ต้องอาศัยทั้งสองเทคโนโลยีข้างต้นในการจัดการและการสื่อหรือขนย้ายจากแหล่งข้อมูลสารสนเทศสู่ผู้บริโภคในที่สุด

          ฉะนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงครอบคลุมถึงหลายๆ เทคโนโลยีหลัก อันได้แก่ คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และฐานข้อมูล โทรคมนาคมซึ่งรวมถึง เทคโนโลยีระบบสื่อสารมวลชน (ได้แก่ วิทยุและโทรทัศน์) ทั้งระบบแบบมีสายและไร้สาย รวมถึงเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อาทิ เทคโนโลยีโทรทัศน์ความคมชัดสูง (HDTV) ดาวเทียมคมนาคม (communications satellite) เส้นใยแก้วนำแสง (fibre optics) สารกึ่งตัวนำา(semiconductor) ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) อุปกรณ์อัตโนมัติสำานักงาน (office automation) อุปกรณ์อัตโนมัติในบ้าน (home automation) อุปกรณ์อัตโนมัติในโรงงาน (factory automation) เหล่านี้ เป็นต้น

          นอกจากการเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ทำลายธรรมชาติหรือสร้างมลภาวะ (ในตัวของมันเอง) ต่อสิ่ง
แวดล้อมแล้ว คุณสมบัติโดดเด่นอื่น ๆ ที่ทำให้มันกลายเป็นเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์สำาคัญแห่งยุคปัจจุบันและในอนาคตก็คือ ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถภาพในเกือบทุกๆ กิจกรรม อาทิโดย

          1) การลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย
          2) การเพิ่มคุณภาพของงาน
          3) การสร้างกระบวนการหรือกรรมวิธีใหม่ๆ
          4) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ขึ้น




          ฉะนั้น โอกาสและขอบเขตการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ จึงมีหลากหลายในเกือบทุกๆ กิจกรรมก็ว่าได้ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง การให้บริการสังคม การผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รวมถึงการค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศอีกด้วย


          ผลประโยชน์ต่างๆ จากการประยุกต์ใช้ของเทคโนโลยีดังกล่าว ล้วนเกิดจากคุณสมบัติพิเศษหลายๆ ประการของเทคโนโลยีกลุ่มนี้ อันสืบเนื่องจากการพัฒนาของ เทคโนโลยีที่มีอัตราสูงและอย่างต่อเนื่องตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลให้
          1) ราคาของฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ รวมทั้งค่าบริการ สำหรับการเก็บ การประมวล และการแลก
เปลี่ยนเผยแพร่สารสนเทศมีการลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
          2) ทำาให้สามารถนำพาอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งคอมพิวเตอร์และ โทรคมนาคมติดตามตัวได้ เนื่องจากได้มีพัฒนาการการย่อส่วนของชิ้นส่วน (miniaturization) และพัฒนาการการสื่อสารระบบไร้สาย
          3) ประการท้าย ที่จัดว่าสำคัญที่สุดก็ว่าได้คือ ทำให้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมุ่งเข้าสู่จุดที่ใกล้เคียงกัน (converge) ประเทศอุตสาหกรรมในโลกได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยียุทธศาสตร์กลุ่มนี้ จึงให้ความสำาคัญต่อเทคโนโลยีนี้มากกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ





3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม

          เทคโนโลยีสารสนเทศจัดว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะแม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะยังไม่มีบทบาทโดดเด่นในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้าในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม แต่ก็มีความสำาคัญอย่างยิ่งยวดในด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการจัดให้บริการสังคมพื้นฐาน (การศึกษาและ การสาธารณสุข ฯลฯ) ในการบริหารประเทศ และในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน





          เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะเลือกใช้มันอย่างไร ในโลกปัจจุบันแรงผลักดันทางเศรษฐกิจมักจะมีบทบาทสูง ในการกำาหนดทิศทางของเทคโนโลยีเป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งในอดีตและปัจจุบันได้เปลี่ยนโฉมไปอย่างมาก ในอนาคตธุรกิจบันเทิงจะเป็นธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่จะทำเงินให้แก่ผู้ประกอบการทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีอิทธิพลอย่างสูงกับแนวความคิด ความอ่านของผู้คนในสังคม เพราะเป็นวิถีทางหนึ่งที่ผู้ร่วมบันเทิงได้รับอิทธิพลทางความคิดจากผู้อื่นที่ร่วมอยู่ในวงบันเทิง และยอมรับสถานภาพว่าตนก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆ การถ่ายทอดแนวความคิดระหว่างบุคคลในสังคมนั้นก็เป็นสิ่งที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมนั่นเอง

          แต่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในระยะต่อไปจะเปิดโอกาสให้มีการสื่อข่าวสารจากจุด ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมมากดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นที่คาดกันไว้ว่า จะมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมอีกครั้งหนึ่ง เราอาจจะได้ความหลากหลายกลับคืนมา แต่ความหลากหลายนี้คงจะมีลักษณะแตกต่างจากที่เคยมีอยู่เดิมอย่างแน่นอน


4. สารสนเทศกับบุคคล 

          การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง  และนำาความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เป็นเรื่องที่มีความสำาคัญไม่จำกัดเฉพาะนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ แต่มีความสำาคัญกับบุคคลในทุกสาขาอาชีพและทุกวัย




          เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องใกล้ชิดและเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น การถอนเงิน
อัตโนมัติ (ATM: Automatic Teller Machine) ธนาคารอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Banking) การซื้อขาย
สินค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ (e-Commerce) การประชุมทางไกล (Tele-Conference) การศึกษาทาง
ไกล (Tele-Education) ระบบห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) การเข้าถึงบริการและสารสนเทศต่างๆ
ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น



5. สารสนเทศกับสังคม

          สารสนเทศนอกจากมีความสำาคัญต่อตัวบุคคลดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีความสำาคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ (ธนู บุญญานุวัตร. 2550) ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านวัฒนธรรม






          5.1 ด้านการศึกษา
          การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนทำาหน้าที่เป็นผู้แนะนำาช่วยเหลือ  และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง  ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำาคัญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา


          5.2 ด้านสังคม
          สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำามาซึ่งความสะดวกสบายในการดำาเนินชีวิต เราใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทั้งการประกอบอาชีพ การป้องกันและแก้ไขปัญหาชีวิต สารสนเทศช่วยขยายโลกทัศน์ของผู้ได้รับให้กว้างขวาง สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมนุษยชาติ  ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

          5.3 ด้านเศรษฐกิจ
          สารสนเทศมีความสำาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้
(Knowledge-based Economy) หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ “การจัดการความ
รู้” (knowledge management) เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้    สารสนเทศด้านธุรกิจการค้าจึงถือ
เป็นต้นทุนการผลิตที่สำาคัญในการแข่งขัน ทั้งนี้เพราะสารสนเทศช่วยประหยัดเวลาในการผลิต ลดขั้นตอนการลองผิดลองถูก อีกทั้งช่วยให้องค์กรได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ตามความต้องการของตลาด

          5.4 ด้านวัฒนธรรม
          สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำาเป็นสำาหรับความก้าวหน้าของอารยธรรม   สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยม ทัศนคติ  ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคี  ความมั่นคงในชาติ




6. บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา


          ขณะนี้เกือบทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพประชาชนโดยเน้นที่การศึกษา เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกากำาหนดนโยบายว่าในปี 2000 ทุกโรงเรียนจะต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องต่อนักเรียนห้าคน และทุกห้องเรียนต้องมีคอมพิวเตอร์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ ส่วนสิงคโปร์ก็ประกาศนโยบายว่าโรงเรียนต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องต่อนักเรียนสองคนในปี 2002 จะเห็นได้ว่าหลายประเทศรีบเร่งในการนำาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยเน้นเรื่องการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้เป็นระบบกลางที่มีราคาถูก เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน




          สำาหรับประเทศไทยได้ระบุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที 10 (พ.ศ. 2550-2554) เป็นแผนที่ต่อเนื่องมาจากแผนฯ ฉบับที่ 9 ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนามีหลักการสำาคัญคือ เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เน้นเป้าหมายเชิงคุณภาพ และบริบทการเปลี่ยนแปลงการขยายโอกาสชุมชน/บุคคลสู่ความรู้และบริการพื้นฐานของรัฐ เป็นแผนภาคีร่วมพัฒนา (Collaborative  Plan)  เน้นเป้าหมายสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน และเชื่อมโยงแผนชุมชนกับแผนชาติ




          ในปัจจุบันประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยได้นำาเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยคุณลักษณะที่เอื้อต่อการศึกษา ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยในหลายมิติ (ไพรัช และ พิเชฐ. 2542)

         










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น